ระบบการพิมพ์

ระบบการพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing) กับ

ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing) แตกต่างกันยังไง

แบบดิจิตอล

เป็นการพิมพ์จากไฟล์แผ่นต่อแผ่น (On Demand) งานที่ได้จะมีคุณภาพ รวดเร็ว แค่มีไฟล์Artwork ก็สามารถพิมพ์ออกมาได้เลย และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า เหมาะสำหรับงานพิมพ์จำนวนไม่มากนัก

แบบออฟเซ็ท

จะมีต้นทุนต่อหน่วยน้อยกว่าระบบการพิมพ์แบบดิจิตอล ยิ่งพิมพ์เยอะ ก็ยิ่งถูก แต่ใช้เวลานานเนื่องจากเครื่องพิมพ์ต้องทำเพลทงานพิมพ์ แยกสีก่อนพิมพ์ และเครื่องพิมพ์มีราคาสูงกว่า


ข้อดี ระบบการพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing)

  • ประหยัดเวลาในการทำงาน : ลดขั้นตอนการทำแม่พิมพ์ หากต้องการงานที่เร่งด่วน แนะนำระบบการพิมพ์แบบดิจิตอล

  • แก้ไขงานได้ง่าย : แค่ส่งไฟล์ใหม่มาแทนไฟล์เดิม ก็สามารถแก้ไขได้ทันที

  • ใช้งบประมาณน้อยกว่า (ในกรณีที่พิมพ์จำนวนน้อย) : เพราะไม่ต้องทำเพลทพิมพ์ ซึ่งราคาโดยรวมจะถูกกว่า

  • ประหยัดทรัพยากร : ลดของเสียในกระบวนการผลิต เช่น กระดาษ หมึก แรงงาน เวลา เป็นต้น

  • มาตรฐานการพิมพ์ : มีระบบการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์เท่ากัน เนื่องจากไม่ต้องควบคุมหมึกและน้ำ แต่การพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing) จะต้องใช้ผู้ควบคุมที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ

  • ผลิตตามจำนวนที่ต้องการ : หากต้องการ 100 ใบ ก็พิมพ์แค่ 100 ใบ ไม่ต้องพิมพ์มากกว่าจำนวนที่ต้องการ มีความยืดหยุ่นในการทำงาน

  • เราใช้ Application จากคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานร่วมกับ Printer ดังนั้นการพิมพ์สามารถประมวลผลได้ เช่น พิมพ์จ่าหน้าซองจดหมาย โดยใช้ Application จากคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกับ Database ไม่ว่าจะเป็น Excel Text หรือ ดึง Graphic ที่แตกต่างกันออกมาพิมพ์ได้ งานพิมพ์ในลักษณะนี้ แม้จะพิมพ์ในจำนวนมากชุด แต่ถ้าไป พิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing) ต้นทุนเอาไม่อยู่แน่นอน

ข้อดี ระบบการพิมพ์ออฟเซต (Offset Printing)

  • ต้นทุนการพิมพ์ แปรผกผัน กับปริมาณการพิมพ์ ง่ายๆ ว่า ยิ่งพิมพ์เยอะก็ต้นทุนต่อหน่วยก็ยิ่งถูกลง

  • พิมพ์สีพื้นทึบบริเวณภาพที่กว้างใหญ่ได้สีที่เรียบ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆ

  • ใช้เวลาน้อยในงานเตรียมพิมพ์ สำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการควบคุมเครื่อง

  • การเก็บและจัดหาพื้นที่เก็บแม่พิมพ์ค่อนข้างเป็นไปได้ง่ายเพราะเป็นแผ่นแบนราบ

  • ความนุ่มของผ้ายางทำให้สามารถพิมพ์บนวัสดุสิ่งพิมพ์ที่มีพื้นผิวหยาบได้ อาทิ กระดาษ ไม้ ผ้า เหล็ก หนัง(บางประเภท) และพลาสติก เป็นต้น

  • จุดบริการผลิตสิ่งพิมพ์มีแพร่หลายจึงหาแหล่งผลิตงานได้ไม่ยาก

  • เป็นงานพิมพ์ที่มีความละเอียดสูงมาก หากมีการควบคุมคุณภาพที่ดี จะได้งานพิมพ์ที่เหมือนจริง

ข้อเสีย ระบบการพิมพ์ออฟเซต (Offset Printing)

  • การควบคุมกาผลิตมีความยุ่งยากซับซ้อน ระหว่างน้ำกับหมึกบนแม่พิมพ์ต้องใช้ความรู้ทักษะ

  • การสูญเสียของกระดาษมากกว่าการพิมพ์ในระบบอื่นๆ เนื่องจากปัญหาารปรับสมดุลการป้อนหมึกและน้ำ

  • การควบคุมอุณหภูมิห้องพิมพ์ ต้องมีความระมัดระวังสูง เพราะระบบพิมพ์นี่มีน้ำเป็นส่วนประกอบจะทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในห้องสูงมีผลทำให้กระดาษ ยืดหดตัวได้สูง